วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559

อาเซียน

1.)อาหารขึ้นชื่อในประเทศอินโดนีเซีย
อาหารหลายชนิดที่มีจุดกำเนิดในอินโดนีเซียได้กลายเป็นอาหารที่แพร่หลายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาหารอินโดนีเซีย เช่น สะเต๊ะ เรินดังเนื้อ ซัมบัล เป็นที่นิยมในมาเลเซียและสิงคโปร์ อาหารที่ทำจากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ เต็มเป ก็เป็นที่นิยมด้วย เต็มเปนั้นถือว่ามีจุดกำเนิดในชวา อาหารหมักดองอีกชนิดหนึ่งคืออนจมซึ่งคล้ายเต็มเปแต่ใช้ส่วนผสมอื่นที่ไม่ใช่ถั่วเหลือง และหมักด้วยราที่ต่างออกไป และเป็นที่นิยมในชวาตะวันตก

1.เนื้อสะเต๊ะ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เนื้อสะเต๊ะ

เป็นอาหารอย่างหนึ่งซึ่งทำจากเนื้อที่หั่นบางๆ หรือหั่นเป็นก้อน อาจจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อแพะ เนื้อปลา ฯลฯ เสียบด้วยไม้เสียบที่ทำจากไม้ไผ่ แล้วนำไปย่างบนเตาฟืนหรือเตาถ่าน เสิร์ฟพร้อมเครื่องปรุงรส ที่มีรสจัด (ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละตำรับ) สะเต๊ะมีจุดกำเนิดมาจากเกาะชวาหรือเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย แต่ก็ยังได้รับความนิยมในประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ รวมทั้งประเทศไทย หรือแม้แต่เนเธอร์แลนด์ซึ่งรับเอาวัฒนธรรมไปกับอาณานิคมของตน
สะเต๊ะของอินโดนีเซียอาจได้รับอิทธิพลจากคาบับที่เป็นอาหารพื้นเมืองของอินเดียภาคเหนือ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากชาวเตอร์กอีกต่อหนึ่ง ตำรับดั้งเดิมของชาวตุรกีเป็นเนื้อแพะหั่นเป็นชิ้นหมักแล้วเสียบเหล็กแหลมย่างไฟ ชาวเปอร์เซียและชาวอินเดียรับมาดัดแปลง อาจใช้เนื้อบดหรือเนื้อทั้งชิ้น จะเสียบหรือไม่เสียบไม้ก็ได้ เมื่อแพร่หลายมาถึงมลายู-ชวาจึงกลายเป็นสะเต๊ะอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

2.บักโซ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บักโซ
รูปภาพจาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=atfirstclick&group=3&month=10-2010&date=20
เป็นเนื้อปั้นก้อนแบบอินโดนีเซียมีลักษณะคล้ายลูกชิ้นแบบจีน ปกติทำจากเนื้อวัว แต่ก็สามารถทำจากเนื้อชนิดอื่นได้ เช่น ไก่ ปลา กุ้ง อาจเสิร์ฟในชามน้ำซุปกับหมี่เหลือง หมี่หุน ผักดอง เต้าหู้ ไข่ กะหล่ำปลี ถั่วงอก ขนมจีบ เกี๊ยวกรอบ หอมเจียวและเซเลอรี พบได้ทั่วอินโดนีเซีย บะก์โซหั่นเป็นชิ้นใช้เป็นส่วนผสมของหมี่โกเร็ง นาซีโกเร็ง

3.นาซีโกเร็ง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นาซีโกเร็ง

รูปภาพจากhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=atfirstclick&group=3&month=10-2010&date=20
เป็นข้าวผัดที่ผัดกับน้ำมันหรือเนยเทียม ปรุงรสด้วยซีอิ๊วหวาน (kecap manis) หอมแดง กระเทียม มะขาม และพริก อาจมีส่วนผสมอื่นด้วย เช่น ไข่ ไก่ กุ้ง

4.กาโดกาโด 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กาโดกาโด

     กาโด-กาโด (อินโดนีเซีย: gado-gado) หรือ โลเต็ก (ชวา: lotèk) เป็นอาหารยอดนิยมของประเทศอินโดนีเซีย ประกอบไปด้วยผัก ทั้งผักสด ผักต้ม และผักลวก และธัญพืชหลายชนิด ราดด้วยซอสที่ทำจากถั่ว ทั้งแคร์รอต มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว ขนุนอ่อน ผักกาดหอม นอกจากนี้ยังมีเต้าหู้ และไข่ต้มสุก และกินกับข้าวเกรียบทอดหลายชนิด เช่น กรูปุก์ ซึ่งเป็นข้าวเกรียบกุ้งหรือปลา เอิมปิง เป็นข้าวเกรียบใส่เมล็ดของผักเหมียง หรือจะกินกับเต็มเปทอด หรือข้าวต้มแบบลนตงก็ได้ รับประทานกับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ ซึ่งประกอบด้วย กะปิ ถั่วลิสงบด กะทิ น้ำตาลโตนด พริกแดง กระเทียม กะทิ มะขามเปียก คำว่ากาโดนี้ ในภาษาอินโดนีเซียหมายถึงยำ
      กาโด-กาโดมีความหลากหลายในแต่ละท้องที่ ในซูราบายาเรียกว่า “กาโด-กาโดซีรัม” ซึ่งจะราดน้ำซอสลงไปบนเครื่องปรุงอื่น ในบันดุงและโบกอร์ จะเคล้าน้ำซอสให้เข้ากับเครื่องปรุงก่อนเสิร์ฟ ในจาการ์ตาเรียกว่า “กาโด-กาโดโบโปล” ใช้เมล็ดมะม่วงหิมพานต์แทนถั่วลิสง

5.โซโต

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โซโต


       เป็นซุปแบบพื้นเมืองในอาหารอินโดนีเซีย ใส่เนื้อและผัก ในบางครั้งจัดเป็นอาหารประจำชาติ มีรับประทานตั้งแต่สุมาตราไปจนถึงปาปัว โดยมีความแตกต่างกันมากมีตั้งแต่ขายข้างถนนไปจนถึงในภัตตาคาร ผู้อพยพชาวชวาได้นำอาหารชนิดนี้ไปยังสุรินาเมและเรียกว่าเซาโต
 2.)อาเซียนมีกี่ประเทศ
1.อาเซียนมีกี่ประเทศ
ที่มา  http://www.thai-aec.com
         http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net
         http://www.dmc.tv
1.ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)


เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุทธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์


2.ประเทศกัมพูชา (Cambodia)

เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ


3.ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)

เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร


4.ประเทศลาว (Laos)

เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)


5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุทธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา


6.ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (Myanmar)

เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

7.ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)

เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร


8.ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)

เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

9.ประเทศเวียดนาม (Vietnam)

เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว

10.ประเทศไทย (Thailand)

เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น